ประวัติอเมริกันพิทบูล
เรามาย้อนรอยอเมริกันพิทบูลกัน ว่าความเป็นมาของพิทบูล สุนัขพันธุ์นี้ผ่านอะไรมาบ้าง และมีกี่สายพันธุ์ที่จับเอามารวมกัน จน
กลายเป็นพิทบูลและพัฒนามาเป็นอเมริกันบลูลี่...
มื่อกองทัพเยอรมันได้ชัยชนะ และเข้าครอบครองเกาะอังกฤษ พวกเขาได้นำอารยธรรมเข้ามา และสร้างถนน
หนทาง โบสถ์ ป้อมปราการเมือง ท่อส่งน้ำ และนำกีฬาเข้ามาประเภทหนึ่งด้วยนั่นก็คือ การนำสุนัขมาต่อสู้กับวัว
(Bullbaiting) กีฬาชนิดนี้พัฒนามาจากความเชื่อเรื่องการบูชา มิทราส (Mithras) เทพเจ้าแห่งสงคราม ซึ่งจะมี
วัวเผือกหนุ่มเป็นสัญลักษณ์ สำหรับการบำรุงจิตใจของผู้ที่อยู่ในสงคราม
ในอดีตกาลนั้นสุนัขพันธุ์ใหญ่ๆ มีอยู่มากมาย และมันจะอยู่แต่ในป่าลึก ต่อมาสุนัขดังกล่าวได้ถูกจับนำมาเพื่อใช้
ในการแข่งขันกีฬาชนิดนี้ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชาวโรมันก็ถูกกลืนรวมเข้ากับเผ่าต่างๆ หรือไม่ ก็ต้องเดินทางไปรบตามที่
ต่างๆ แต่ว่าอารยธรรมและกีฬาการนำสุนัขมาต่อสู้กับวัวยังคงอยู่และเจริญรุ่งเรืองอยู่ต่อไป
ในขณะเดียวกันสุนัขก็มีการแบ่งชนิด แบ่งประเภทออกมามากขึ้น เนื่องจากมีการคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อใช้ในการกีฬา
สุนัขที่แข็งแกร่ง และฉลาดที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่รอดจากการแข่งขันนี้ได้ หลังจากกาลเวลาผ่านไปหลายศตวรรษจนกระทั่งถึง
ต้นศตวรรษ ที่ 17 ชนชั้นกลางก็ปักรากฝังลึก ในสังคมอังกฤษชนชั้นนี้ได้แก่ พ่อค้า ช่างเงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก เจ้าของที่พัก
โรงแรม ช่างตัดเสื้อ คนทำขนมปัง ฯลฯ ชนชั้นกลางได้เรียนแบบแฟชั่น ขนบธรรมเนียมต่างๆ มาจากพวก ชนชั้นสูงรวม
ทั้งกีฬาการสู้วัวด้วย ในขณะนั้นมีสุนัขอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งเกือบจะเป็นพันธุ์แท้แทบทั้งสิน ได้แก่ เทอร์เรีย สุนัขต้อนฝูง
สัตว์ (Cattle Dog) สุนัขเลี้ยงแกะ (Shepherds) และสุนัขพันธุ์ใหญ่ๆ ได้แก่ บลูด็อก (Bull Dog) และมัสตีฟฟ์
ซึ่งใน สมัยนั้นมีความหมายว่า "สุนัขพันธุ์ใหญ่
นอกจากนั้นยังมี บูลพอล (Bull Paul) สุนัขที่น่าสะพรึงกลัวจาก สก็อตแลนด์ และอะลอนท์จากไอร์แลนด์ที่ดุร้าย
พอๆ กัน สุนัขชนิดต่างๆ เหล่านี้ ถูกนำมาผสมพันธุ์กับสุนัขที่ยิ่งใหญ่ในอังกฤษ ลูกหลานที่ได้จากการผสมพันธุ์ของสุนัขดัง
กล่าวนั้น ได้กลายเป็นสุนัขพันธุ์หลักที่ใช้สู้กับวัว เมื่อถึงศตวรรษที่ 18 ผลจากการผสมพันธุ์ทำให้ได้สุนัขที่มี ขนาดใหญ่ เขา
ยาว น้ำหนักตั้งแต่ 80-90 ปอนด์ ก่อนที่จะมีการสู้กับวัว สุนัขดังกล่าวจะถูกงดอาหาร เป็นเวลา 1-2 วัน เพื่อสร้างความ
กระหาย ที่อยากจะฉีกชิ้นเนื้อศัตตรู ลองนึกดูว่าสุนัขที่ไม่ได้รับอาหารตามเวลานั้นมันจะดุร้ายขนาดไหนขณะที่สู้กับวัวกระทิง
ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นระยะเสื่อมสำหรับชนชั้นกลาง การหาวัวกระทิงที่จะมาสู้กับสุนัขเพื่อจะจรรโรงกีฬาโบราณชนิดนี้ไว้
กลายเป็นสิ่งที่ยากลำบากขึ้น จนกระทั่งเสื่อมความนิยมไปในที่สุดและใน ค.ศ.1835 กีฬาชนิดนี้จึงถูกยกเลิกไปอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่สนใจพัฒนากีฬาแบบใหม่ขึ้นมา เมื่อวัวกระทิงหายากขึ้น ก็ไม่ใช้วัวกระทิง แต่จะใช้สุนัขมาลุยและ
ฟัดกันเอง กีฬาชนิดใหม่ก็เลยบังเกิดขึ้น นั้นก็คือ การนำสุนัขมาต่อสู้กัน ขณะนั้นยังมีสุนัขตัวใหญ่ที่ดุร้ายหลงเหลือจากการ
สู้กับวัวกระทิงอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ว่าสุนัขเหล่านี้ไม่มีความคล่องแคล่ว ว่องไว ปราดเปรียว เพียงพอที่จะทำให้กีฬาชนิดนี้
มีความสนใจขึ้นมาได้
มีชนชั้นอีกชนชั้นหนึ่ง ที่เรายังไม่ได้กล่าวถึงนั้นก็คือ ชนชั้นต่ำ พวกคนจน คนที่ต้องผจญภัยกับพวกสัตว์ที่น่ารำคาญ
ที่เข้ามาทำลายข้าวของพวกเค้าตลอดเวลา นั้นก็คือ "หนู" พวกเขาพบว่าสุนัขพันธุ์หนึ่ง ที่สามารถจะปราบหนูเหล่านั้นได้
นั้นก็คือสุนัขตะกูล "เทอร์เรีย" ขณะนั้นชนชั้นสูง และชนชั้นกลางพัฒนาสุนัขเพื่อการกีฬา คนจนก็ได้ปรับปรุงสายพันธุ์
เทอร์เรียของพวกเค้าไปพร้อมๆ กัน ที่ต้องทำและพัฒนาก็เพื่อความอยู่รอดของตัวเอง (เอาไว้ปราบหนูและงู) สุนัขสายพันธุ์
เทอร์เรีย ซึ่งตัวเล็ก คล่องแคล่วกำลังดี หาอาหารกินเอง จากการที่มีหน้าอกกว้าง และทรงพลัง ทำให้มันสามารถที่จะขุดไล่
หนูออกมาจากรูได้ แม้กระทั่งบรรดาหมาจิ้งจอกที่เข้ามาขโมยกินลูกไก่ หรือหนู ต่างก็ต้องตกเป็นเหยื่อของเทอร์เรียไปเสีย
ด้วยซ้ำ สุนัขตะกูลเทอร์เรียเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ความดุ เลี้ยงง่ายทนทาน และที่สำคัญมันไม่เกรงกลัวสุนัขพันธุ์ไหนใน
โลกนี้ มันพร้อมชนและพร้อมล่า เพื่อความอยู่รอด ของตัวมันเอง
ช่วงที่เป็นวันหยุดจากการใช้แรงงาน มีคนริเริ่มกีฬาชนิดหนึ่งขึ้นมา สิ่งที่ทำให้พวกเค้ามีความสุขและสำราญโดยไม่เสียค่า
ใช้จ่ายแต่อย่างใดนั่นก็คือ การเอาสุนัขตะกูลเทอร์เรียมาแข่งกันจับหนู "การแข่งขันจับหนู" (Ratting)ก่อนอื่นจะต้องขุดหลุมให้
ใหญ่ๆ ไม่ลึกมาก พอที่จะให้สุนัขลงไปไล่จับหนู และมีคนเชียร์อยู่ด้านบน และจับหนูมาใส่เอาไว้ในหลุม แล้วก็ปล่อยสุนัขลงไปใน
หลุมนั้น เทอร์เรียที่สามารถจะจับหนู และฆ่าหนูได้มากที่สุดนั้น คือผู้ชนะ และก็ไม่พลาดที่จะมีการพนันขันต่อกันเกิดขึ้น ใครที่ชนะ
ก็จะกลับบ้าน พร้อมกับเหรียญเงินเต็มกระเป๋าของเขา เทอร์เรียได้รับการพัฒนาขึ้นมาหลายชนิด ในที่นี้เราจะขอกล่าวถึงเพียงที่
สำคัญๆเท่านั้น อิงลิช ไวท์ เทอร์เรีย (English White Terrier) ซึ่งมันได้สูญพันธุ์ได้ช่วงต้นศตวรรษ ที่ 19 นั้น มีลักษณะที่
คล้ายคลึงกับ แมนเชสเตอร์ เทอร์เรียในปัจจุบันแต่ศรีษะดูจะใกล้เคียงกับทางอเมริกัน พิทบูลเทอร์เรีย แต่ อิงลิช ไวท์ เทอร์เรีย
เป็นนักสู้ตัวยง แต่อาจจะไม่เท่าชนิดสีน้ำตาล-ดำ (Black and Tan) ซึ่งสืบต่อมาเป็น แมนเชสเตอร์ เทอร์เรีย
และก็มีกลุ่มชนชั้นต่ำอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในเมืองสแตฟฟอร์ด ได้แอบพัฒนาสุนัขอีกตะกูลนึงขึ้นมา หลักฐานไม่ได้ชี้ชัด
อะไรมากนัก ไม่มีใครทราบได้ว่าผู้ใด ที่เป็นต้นคิดในการนำ บลูด็อก (Bull Dog) มาผสมกับเทอร์เรีย ที่คล่องแคล่วว่องไว
แต่ว่าผู้ที่สามารถผสมพันธุ์ทั้งสองชนิดได้สำเร็จได้ ก็ คือพวกคนงานเหมืองถ่านหิน และคนงานในโรงงานเหล็กในบริเวณ
สแตฟฟอร์ดเชียร์ ในภาคกลางของอังกฤษ โดยเรียกสุนัขเหล่านี้ว่า บูล - แอนด์เทอร์เรีย (Bull And Terrier)
บูลแอนด์เทอร์เรียได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ในหมู่คนที่ชอบกีฬา เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด สามารถที่จะ
อุ้มมันไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก กินไม่จุ ในขณะเดียวกันก็จะมีการตั้งกฏเกณฑ์ต่างๆ กันขึ้นมา โดยใช้เกีรยติเป็น
ประกัน ลักษณะประการสำคัญของพันธุ์ใหม่นี้ก็คือ เจ้าของสามารถที่จะไปอยู่ในที่แข่งขันได้ โดยจะใช้มือและเสียงกระตุ้น
สุนัขของตน ข้อนี้รู้สึกว่าจะแตกต่างจากการสู้กับวัวกระทิง ซึ่งจะจำกัดบทบาทของเจ้าของ ปล่อยให้คนดูเป็นกองเชียร์เท่านั้น
ในสมัยต้นๆ กีฬาชนิดนี้จะแข่งขันกันตามสนามสู้วัวเก่าๆ มุมถนน โรงนาต่างๆ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ชนชั้น
กลางเริ่มมีบทบาทในสังคมมากขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และหันมาชอบกีฬาชนิดใหม่นี้ ไม่นานนัก ตามผับ (Pub) และทีพักริมทาง
แทบทุกแห่งก็จะมี "สนามประลอง" ข้างๆ ห้องบ้างหรือในห้องโถงบ้าง ตามแต่ขนาดและ สถานที่ สนามประลองเหล่านี้จะ
เรียกกันว่า "พิต" หรือ "หลุม" (Pits) ซึ่งเป็นคำเรียกที่ได้มากจากการ กีฬาการจับหนู ของชนชั้นต่ำ การต่อสู้ประลองกำลัง
ก็เรียกว่า "พิตติ้ง" (Pitting) ส่วนผู้ชนะ (สุนัข) จะเรียกกันว่า "พิตด็อก" (Pit Dogs) ในสมัยนั้นการอุ้ม บูลแอนด์
เทอร์เรีย เดินไปในเมืองจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ โก้เก๋ เมื่อเข้าไปในบาร์แล้วทุกๆ คนสามารถที่จะมาพินิจติชมสุนัขตัวนั้นๆได้และ
ลงมือวางเดิมพันกัน โดยเจ้าของบาร์หรือ เจ้าของที่พักริมทางจะเป็นผู้ที่ถือเงินเดิมพันเอาไว้ ขณะเดียวกัน บลูด็อก (Bull
Dog) พันธุ์เดิมก็หาอยากขึ้นทุกที เนื่องจากถูกนำมาเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผลิตพันธุ์ใหม่ๆที่คล่องแคว่วว่องไวมากขึ้น น้อยคนนัก
ที่จะ อุทิศตนให้กับการเก็บรักษาพันธุ์นี้ไว้ ตามแนวทางของชาวโรมันโบราณ คนเหล่านี้ก็ได้แก่ เจ้าของที่ดิน ซึ่งพอจะมี
อำนาจการเงินเพียงพอ ที่จะนำสุนัขพันธุ์ใหม่ๆ มาจากจีน ซึ่งสร้างความตื่นเต้นฮือฮาในหมู่ผู้สูงศักดิ์ในสมัย นั้นเป็นอย่าง
ยิ่ง นั่นก็คือ ไชนิส ปั๊ก (Chinese Pug) จากนั้นคนกลุ่มนี้ก็ค่อยๆ พัฒนาพันธุ์ใหม่ โดยนำ บลูด็อก มาผสมกับปั๊กและให้
กำเนิดพันธุ์ขาสั้น หางม้วน ลำตัวกว้าง ซึ่งเรียกว่า บลูด็อก (BullDog) ในปัจจุบัน
บลูแอนด์เทอร์เรีย จากสแตฟฟอร์ดเชียร์ ได้รับการยกย่องเรื่อยมาในด้านความเป็นนักสู้และสมรรถนะ อาจจะเป็น
เพราะเหตุผลที่ว่า สังคมชาวเมืองเป็นสังคมที่ผูกพัน กันอย่างแน่นแฟ้น ที่ทำให้สุนัขนี้มีลักษณะแบบฉบับที่แน่นอน ต่อมาจึง
มีผู้คนเรียกมันว่า สแตฟฟอร์ดเชียร์ บลู เทอร์เรีย (Staffordshire Bull Terrier) แต่กว่าชื่อนี้จะกลายเป็นชื่อที่ใช้เรียก
เป็นทางการก็ล่วงมาถึง ค.ศ. 1953 แล้ว เมื่อสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขแห่งอังกฤษยอมรับเป็นพันธุ์แท้
จากนี้เราขอกลับย้อนไปในประวัติศาสร์กันอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้จะเป็นซีกโลกตะวันตก การที่อังกฤษได้อเมริกาและ
แคนาดาเป็นอาณานิคมใน "โลกใหม่" นั้น เทอร์เรียเป็นที่ต้องการมากเท่ากับ "โลกเก่า" (ยุโรป) ไม่ว่าผู้ใดจะไปตามที่ใดก็
มักจะพาสุนัขไปด้วย นอกจากนี้การใช้ บลูด็อก(ซึ่งเมื่อก่อนดุร้ายมากๆ)เพื่อพิทักษ์ป้องกันตนเองจากการปล้นสะดมแล้ว
ผู้คนเหล่านี้ยังต้องการสันทนาการ และนำสุนัขมาใช้ในการกีฬาด้วยเช่นกัน เมื่อกาลเวลาผ่านไป บลูแอนด์เทอร์เรียชนิด
หนึ่งก็พัฒนาขึ้นมาอีกโดยจุดเด่นจะมีกระดูกที่ใหญ่กว่า และน้ำหนัก มากกว่าญาติชาวอังกฤษของมันมากนักเชียว
หลังจากสงครามกลางเมืองไม่นานบรรดาพ่อค้า กลาสี คนค้าขายได้นำสุนัขอังกฤษเข้ามาในอเมริกา และกีฬา
การนำสุนัข มาต่อสู้กันก็แพร่หลายไปในเมืองต่างๆ บลูแอนด์เทอร์เรีย จากอเมริกาและจากอังกฤษจึงมีการผสมข้ามพันธุ์
กัน และพัฒนาคุณลักษณะดีขึ้นเรื่อยๆ จากความพยามของผู้โปรดปรานกีฬาชนิดนี้ซี. บี. เบ็นเน็ทท์ ผู้โด่งดังในฐานะนักกีฬา
ผู้รักสุนัขและนักผสมพันธุ์สุนัขคนหนึ่ง ได้จัดทำหนังสือพ่อพันธุ์ขึ้นมาเล่มหนึ่ง และจัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนใน ค.ศ.
1898 เขาเป็นผู้ตั้งชื่อพันธุ์ว่า - เมริกา พิทบลูเทอร์เรีย นอกจากนั้นเบ็นเน็ทท์ยังเป็นผู้กำหนดกติกาสำหรับการต่อสู้ระหว่าง
สุนัข และตั้งมาตรฐานเป็นทางการ ซึ่งใช้กันมาถึงทุกวันนี้ เบ็นเน็ทท์ เป็นผู้จัดตั้ง ยูไนเต็ด เค็นเนล คลับ (United Kennel
Club) ขึ้นเมื่อ 77 ปีก่อน เพื่อรับจดทะเบียน อเมริกาพิทบลู โดยเฉพาะ ต่อมาสมาคมแห่งนี้จึงกลายเป็นสำนักงานทะเบียน
ใหญ่เป็นอันดับสอง ของอเมริกา ต่อมาไม่นานชื่อนำหน้าก็ถูกเปลี่ยนจากอเมริกาเป็นอเมริกัน พิทบูลเทอร์เรีย